วิธีการยื่นแบบแจ้งรับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย สำหรับเจ้าบ้าน เจ้าของ หรือผู้ครอบครองเคหะสถาน
วิธีการยื่นมีทั้งหมดสามแบบคือ
• วิธีที่ 1 นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง
นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง ที่ช่องบริการแจ้งที่พักอาศัย (ตม.30) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ (ตามวันและเวลาราชการ)
• วิธีที่ 2 แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
1. กรอกแบบฟอร์มการแจ้ง พร้อมลงชื่อผู้แจ้งให้เรียบร้อย
2. ซองจดหมายขนาด 6.5 x 9 นิ้ว พร้อมติดแสตมป์ 10 บาท จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง เพื่อส่งใบรับแจ้งของเจ้าหน้าที่คืน
3. นำเอกสารข้อ 1-2 ใส่ซองลงทะเบียน (เก็บใบลงทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน) ส่งตามที่อยู่ ดังนี้
งานแจ้งที่พักอาศัยบุคคลต่างด้าว กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย 7 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
• วิธีที่ 3 แจ้งทางอินเตอร์เน็ต (Internet)
ลงทะเบียนขอใช้บริการแจ้งที่พักอาศัยทางระบบอินเตอร์เน็ตที่ www.immigration.go.th ในหน้าต่าง การแจ้งที่พักอาศัย เมื่อเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบและอนุมัติแล้ว จะแจ้งรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน สำหรับเข้าใช้ระบบไปยัง e-mail ที่ลงทะเบียน
คำถาม 1 : เราควรแจ้งแบบไหน?
ตอบ : เราควรแจ้งแบบไปรษณีย์ เนื่องจากเราเป็นเอเจ้นที่จะต้องยื่นเรื่องแทนเจ้าของ การส่งไปรษณีย์จะเป็นวิธีที่สะดวกต่อเรามากที่สุด
คำถาม 2 : ทางอินเตอร์เน็ต (Internet) สะดวกกว่าไหม ทำออนไลน์ ไม่ต้องส่งไปเอกสารด้วย?
ตอบ : ไม่ค่ะ เพราะการแจ้งผ่านอินเตอร์เน็ตจะต้องลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ จากนั้น ตม.จะส่ง ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านมาให้เราสำหรับการแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าว
คำถาม 3 : การลงทะเบียนแล้วรอรับรหัส ยากตรงไหน?
ตอบ : ลงทะเบียนไม่ยากค่ะ แต่ที่ยากคือ การลงทะเบียน เพราะการลงทะเบียนในที่นี้ไม่ใช่การสมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บไซต์ แต่เป็นการลงทะเบียนที่พักอาศัยที่เราให้ต่างชาติเข้าอยู่ พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ ถ้าเจ้าของห้องหนึ่งคน มีคอนโดให้เช่าสองห้อง ถ้าเป็นคนละคอนโด ต้องทำเรื่องลงทะเบียนสองครั้ง แต่ถ้าเป็นบ้านเลขที่เดียวกันเช่น 112/10 กับ 112/11สามารถแจ้งครั้งเดียวได้ (แต่ให้ระบุไปว่ามีสองห้อง) ในกรณีนี้ที่เราเป็นเอเจ้นต้องทำหลายห้อง ดังนั้นการส่งไปรษณีย์จะสะดวกต่อเรามากที่สุด แค่เตรียมเอกสารให้ครบแล้วส่งไป
และการลงทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ต ถึงแม้เราจะมีข้อมูลทุกอย่างที่ต้องกรอก แต่อีกสิ่งนึงที่ต้องใช้คือ อีเมล ถ้าเราลืมรหัสผ่าน ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านใหม่จะถูกส่งไปยังอีเมลที่ลงเบียน หากใช้อีเมลของบริษัท แล้วสามารถดูข้อมูลประวัติทั้งหมดที่เราทำไว้ได้ ถ้าในปีหน้า บริษัทเอเจนซี่ไม่ได้เป็นผู้จัดการสัญญาเช่าในห้องเดิม เราจำเป็นให้ชื่อผู้ใช้กับรหัสผ่านกับบุคคลอื่นเนื่องจากการลงทะเบียนอีเมลผูกกับเลขรหัสประจำบ้าน นั่นอาจทำให้ข้อมูลของผู้เช่าและเจ้าของไม่เป็นความลับ
คำถาม 4 : การส่งไปรษณีย์ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?
ตอบ : ให้แนบเอกสารตามนี้
1. แบบ ตม.30
2. บัตรประชาชนเจ้าบ้าน พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง
3. ทะเบียนบ้านที่ให้ต่างด้าวเข้าพักอาศัย
4. หนังสือเดินทางของต่างด้าวที่พักอาศัย กี่คนก็ส่งไปเท่านั้น ตามจำนวนที่ระบุไว้ใน ใบตม.30
5. ซองจดหมายขนาด 6.5 นิ้ว x 9 นิ้ว จ่าหน้าซองถึงตัวเอง พร้อมติดแสตมป์ 10 บาท
คำถาม 5 : เตรียมเอกสารครบแล้วทำอะไรต่อ?
ตอบ : พิมพ์ซองที่เราจะใส่เอกสารข้อ 1-5 ส่งให้ทาง ตม. ส่งเอกสารโดยไปรษณีย์ได้เลย เก็บเลขพัสดุไปรษณีย์ไว้เป็นหลักฐาน
หรือถ้ามีข้อสงสัยให้โทรไปที่ 092-3540039 เป็นเบอร์กลางออฟฟิศของฝ่ายงานแจ้งที่พักอาศัยบุคคลต่างด้าว
หรือ อ่านข้อมูลเองได้ที่ https://www.immigration.go.th/index
วิธีการกรอกบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัย(แบบ ตม.30)
กรณีมาแจ้งด้วยตนเองหรือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
แบบการแจ้งรับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย สำหรับเจ้าบ้าน เจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหะสถาน(ตม.30) ประกอบด้วยเอกสาร 2 ส่วน(2 แผ่น)ด้วยกัน ส่วนแรก เป็นการกรอกรายละเอียดข้อมูลของเจ้าบ้านฯและที่ตั้งสถานที่ที่มีคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ส่วนที่ 2 เป็นบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัย
การกรอกรายละเอียดในแบบตม.30 ส่วนที่ 2 ขอให้ท่านดำเนินการกรอกให้ครบทุกช่อง โดยให้ดูจากหนังสือเดินทางของบุคคลต่างด้าวเป็นหลัก เนื่องจากรายละเอียดของบุคคลต่างด้าว ซึ่งบุคคลต่างด้าวเขียนให้ก่อนเข้าพักอาศัยมักไม่ถูกต้อง และการกรอกให้ใช้วิธีพิมพ์หรือเขียน ถ้าเป็นการเขียนให้เขียนเป็น BLOCK LETTER และมีข้อพึงระวังในการกรอกดังนี้
1. ชื่อคนต่างด้าว ต้องเว้นช่องว่างระหว่าง ชื่อตัว ชื่อกลาง ชื่อสกุล ให้เห็นชัดเจน
2. เลขที่หนังสือเดินทาง หากมีตัวหนังสือข้างหน้า หรือข้างหลังตัวเลขให้เขียนลงไปด้วย
3. ช่องบัตรขาเข้าเลขที่ ให้กรอกเลขที่บัตรขาเข้า(บัตร ตม.6) ซึ่งแนบอยู่ในหนังสือเดินทาง โดยกรอกเช่นเดียวกับ
4. การกรอกเลขที่หนังสือเดินทาง กล่าวคือ หากมีตัวหนังสือ ให้กรอกตัวหนังสือลงไปด้วย
5. วันเดินทางเข้า หมายถึง วันที่คนต้างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย สำหรับวันที่เข้าพัก ให้กรอกลงใน
แผ่นหน้าของใบแจ้งรับคนต่างด้าว เข้าพักอาศัย พนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลในแบบ ตม.30 เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่ามีการกรอกข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรับแจ้งและฉีกแบบ ตม.30 ส่วนล่างให้ผู้แจ้งเก็บรักษาต่อไป